สารบัญ
บทนำ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?
- ใครต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นผู้เสียภาษีต้องทำอย่างไร
- หลักในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- สูตรในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ขั้นตอนในการคำนวณภาษีและยื่นแบบ
- ขั้นตอนที่ 1 : การรวบรวมเอกสาร
- ขั้นตอนที่ 2 : ระบุเงินได้พึงประเมิน
- ขั้นตอนที่ 3 : การหักค่าใช้จ่าย
- ขั้นตอนที่ 4 : การหักค่าลดหย่อน
- ขั้นตอนที่ 5 : การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ
- แบบภาษีที่เกี่ยวข้อง
- สรุป
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคืออะไร?
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ (รายได้) เข้ามาในระหว่างปีภาษี หากไม่มีกฎหมายยกเว้นให้ ทุกๆบุคคลผู้มีเงินได้ก็ต้องเสียภาษี
ใครต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
กลุ่มของบุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีดังต่อไปนี้
- บุคคลธรรมดา – คนทั่วไปที่มีรายได้
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
- ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
- วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นผู้เสียภาษีต้องทำอย่างไร
- ในกรณีที่ผู้เสียภาษีมีเลขบัตรประจำตัวประชาชนอยู่แล้ว สามารถใช้เลขดังกล่าวในการยื่นเสียภาษีได้เลย
- แต่หากผู้เสียภาษีไม่มีเลขบัตรประชาชน เช่น เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ก็จะต้องขอเลขผู้เสียภาษีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น โดยให้ยื่นคำร้อง ณ สรรพากรพื้นที่นั้นๆ
หลักในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะแบ่งเป็น 2 หลักการดังนี้
- หลักแหล่งเงินได้ – สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นในไทย เนื่องจาก หน้าที่งาน หรือกิจการที่ทำในประเทศไทย หรือกิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
- หลักถิ่นที่อยู่ – สำหรับผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในไทยรวมกันถึง 180 วัน ในปีภาษีใด และมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ ในต่างประเทศ เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สิน ที่อยู่ในต่างประเทศ และผู้มีเงินได้นำเงินได้นั้น เข้ามาในไทยภายในปีภาษีเดียวกับปีที่เกิดเงินได้นั้น
สูตรในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก่อนจะทำความเข้าใจสูตรในการคำนวณภาษี เราจะต้องเข้าใจความหมายของตัวแปรแต่ละตัวในสูตรการคำนวณเสียก่อน มาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันก่อนดังนี้
เงินได้พึงประเมิน : รายได้ของบุคคล ซึ่งตามกฎหมายกำหนดเอาไว้ 8 ประเภท 40(1) – 40(8)
ค่าใช้จ่าย : ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินบางประเภทสามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ บางประเภทก็ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ และเงินได้แต่ละประเภทก็หักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน ตามที่กฎหมายกำหนด
ค่าลดหย่อน : ในการคำนวณภาษี บุคคลแต่ละบุคคลสามารถหักค่าลดหย่อนได้เพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับสถานะของแต่ละบุคคล เช่น การหักค่าลดหย่อนส่วนตัว บุตร การซื้อเบี้ยประกันภัย เป็นต้น
ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมของตัวแปรแต่ละตัวอย่างละเอียดได้ตามบทความด้านล่างนี้
- เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภทมีอะไรบ้าง?
- บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายอย่างไรในการคำนวณภาษี
- อัพเดทการหักค่าลดหย่อนบุคคลธรรมดาปี 2567
สูตรใจการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 2 วิธี ซึ่งจะต้องนำมาเปรียบเทียบกันและเลือกเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณออกมาได้มากกว่า ดังต่อไปนี้
วิธีที่ 1 : คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิธีที่ 2 : คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้พึงประเมิน
ในกรณีที่เรามีเงินได้นอกเหนือจากเงินได้ 40(1) เกิน 1 ล้านบาทต่อปี เราจะต้องคำนวณภาษีวิธีที่ 2 ด้วยโดยนำเงินได้พึงประเมินนอกจากเงินได้ที่เป็นเงินเดือน 40(1) มาคูณ 0.5% เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1 วิธีใดได้ผลลัพท์ที่สูงกว่าให้เลือกเสียภาษีตามวิธีนั้น
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้ประเภทที่ 2-8 (รวมกัน) x 0.5%
อ้างอิงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง : มาตรา 48(2) , พระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 480
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทยจัดเก็บด้วยอัตราก้าวหน้ากล่าวคือผู้ที่มีเงินได้สุทธิมากก็จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่มีเงินได้สุทธิน้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม สามารถสรุปได้ดังนี้
เนื้อหาในส่วนถัดไปจะเป็นการอธิบายขั้นตอนในการคำนวณภาษี ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : การรวบรวมเอกสาร
ผมคิดว่าทุกๆบุคคลควรจะมีการจัดทำรายละเอียดรายรับเอาไว้พร้อมกับเอกสารประกอบกับรายรับ เพราะในการคำนวณภาษีนั้นเราจะต้องกรอกเงินได้พึงประเมินของเราลงไปว่าเรามีรายรับทั้งปีเท่าไหร่
สำหรับบุคคลที่เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาอาจไม่จำเป็นต้องจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายเอาไว้ก็ได้เพราะอย่างไรก็ตามเราเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาอยู่แล้ว แต่หากใครที่จะเลือกวิธีหักค่าใช้จ่ายตามจริง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเอาไว้ให้ถูกต้อง พร้อมเอกสารประกอบรายจ่าย เพื่อเป็นหลักฐานในการหักค่าใช้จ่ายตามจริงนั้นเอง
ลองมาดูตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่ายได้ที่นี่ : บัญชีรายรับรายจ่าย แจกตัวอย่างฟรี พร้อมวิธีการจัดทำ
ยกตัวอย่างการคำนวณเช่น นาย ก มีเงินได้พึงประเมินจากเงินเดือน 40(1) เดือนละ 100,000 บาท ต่อเดือน และมีเงินได้จากการขายของออนไลน์ 40(8) ทั้งปีที่ 500,000 บาท ในการขายของออนไลน์นาย ก ไม่ได้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเอาไว้ จึงต้องเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา
รายละเอียดค่าลดหย่อนของนาย ก มีดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนมารดา 30,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป 50,000 บาท
- ซื้อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ RMF เป็นจำนวน 10,000 บาท (RMF)
ขั้นตอนที่ 2 : ระบุเงินได้พึงประเมิน
จากโจทย์ตัวอย่างที่กำหมดมาให้เห็นได้ว่าเงินได้พึงประเมินของนาย ก มี 2 ประเภทคือ
เงินเดือน 40(1) เดือนละ 100,000 บาท ต่อเดือน ดังนั้นนาย ก มีเงินเดือน 40(1) 100,000 x 12 = 1,200,000 บาท ต่อปี
เงินได้จากการขายของออนไลน์ 40(8) 500,000 บาท ต่อปี
ขั้นตอนที่ 3 : การหักค่าใช้จ่าย
เงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทนั้นจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน หากเป็นเงินได้ 40(1) จะหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หากเป็นเงินได้จากการขายของออนไลน์ 40(8) หักค่าใช้จ่ายได้อัตราเหมาที่ 60% นั่นคือ 500,000 x 60% = 300,000 บาท แสดงรายละเอียดการคำนวณได้ดังนี้
นาย ก มีเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,300,000 บาท
ขั้นตอนที่ 4 : การหักค่าลดหย่อน
เมื่อหักค่าลดหย่อนต่างๆตามที่โจทย์กำหนด นาย ก มีเงินได้สุทธิดังนี้
เงินได้สุทธิของนาย ก เท่ากับ 1,150,000 บาท
ขั้นตอนที่ 5 : การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระ
เมื่อได้เงินได้สุทธิมาแล้วขั้นต่อไปก็ต้องเอามาเข้าตารางอัตราภาษีเพื่อคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
อย่างไรก็ตามจะต้องคำนวณภาษีวิธีเงินได้พึงประเมินด้วย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกันและเลือกอันที่สูงกว่า
เงินได้จากการขายของออนไลน์ 40(8) คือ 500,000 บาท x 0.5% = 2,500 บาท
นาย ก มีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องเสียจำนวน 152,500 บาท (เลือกวิธีที่เสียภาษีสูงกว่า)
แบบภาษีที่เกี่ยวข้อง
แบบ ภงด 90 – เป็นแบบภาษีประจำปีใช้ในกรณีที่มีเงินได้พึงประเมิน 40(1) – 40(8) หลายประเภท หรือประเภทเดียวที่ไม่ใช่ 40(1)
แบบ ภงด 91 – เป็นแบบภาษีประจำปีใช้ในกรณีที่มีเงินได้พึงประเมิน 40(1) ประเภทเดียว
แบบ ภงด 94 – เป็นแบบภาษีครึ่งปีใช้ในกรณีที่มีเงินได้พึงประเมิน 40(5) – 40(8)
สรุป
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่ทุกคนควรทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทุกคนที่มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี ในบทความนี้เราได้เรียนรู้หลักการและวิธีการในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หวังว่าจะทำให้ทุกท่านเข้าใจมากยิ่งขึ้นนะครับ