ความแตกต่างของ ราคาก่อน Vat กับ ราคาหลัง Vat คือ ราคาก่อน Vat เป็นราคาที่ยังไม่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไป แต่ราคาหลัง Vat เป็นราคาที่ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปแล้ว
เงินคืนภาษี (Tax refund) เป็นเงินที่เรามีสิทธิ์ได้รับคืน เนื่องจากได้จ่ายชำระภาษีล่วงหน้าไปแล้ว มากกว่าเงินภาษีที่ต้องเสีย
ในการคำนวณภาษีของบุคคล เราจะต้องหาเงินได้สุทธิออกมาก่อนจากสมการนี้
เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
เมื่อหาเงินได้สุทธิแล้ว ก็นำมาคำนวณอัตราภาษีตามขั้นบันไดดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
อ.ส.4 เป็นแบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน สะดวกสำหรับกรณีที่มูลค่าตราสารสูง จึงไม่สะดวกที่จะปิดอากรในรูปแบบแสตมป์
อากรแสตมป์ คือ ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดเก็บจากการจัดทำตราสาร 28 ประเภท ที่กฎหมายกำหนดให้เสียภาษี โดยทั่วไปแล้วตราสารที่ติดอากรแสตมป์เท่านั้นจึงจะสามารถบังคับใช้ตามกฎหมายและเป็นหลักฐานในชั้นศาลได้
ภ.ป.1 คือ แบบแสดงรายการภาษีป้าย ซึ่งเจ้าของป้ายมีหน้าที่ยื่นต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของทุกปี
ภาษีป้าย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อเอาไว้ใช้ในการหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทําให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ ดังนั้นทุกๆป้ายที่เป็นการโฆษณาเพื่อหารายได้ก็จะต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้น
ตามมาตรา 50 ได้ระบุเอาไว้ว่า “ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน” ดังนั้นผู้มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่ายก็คือนายจ้างผู้จ่ายเงินได้ให้แก่ลูกจ้างนั่นเอง
บิล Vat เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่เอาไว้ใช้เรียกใบกำกับภาษี ซึ่งเป็นเอกสารที่ผู้ประกอบการที่จด Vat มีหน้าที่ต้องจัดทำและออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือให้บริการเกิดขึ้น โดยในเอกสารจะแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ขายเรียกเก็บจากผู้ซื้อ เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากรในเดือนถัดไป
ใบเพิ่มหนี้ เป็นเอกสารทางบัญชีและภาษีที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการที่จด Vat เนื่องจากเป็นเอกสารใบกำกับภาษีประเภทหนึ่ง ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้ขายสินค้าหรือให้บริการ และต่อมามีเหตุให้ภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการมีจำนวนเพิ่มขึ้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนนำภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นนั้น มารวมในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเป็นเหตุผลที่ผู้ประกอบการต้องออก “ใบเพิ่มหนี้” ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เพื่อเป็นเอกสารในการบันทึกบัญชีและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้อง