สารบัญ
บทนำ
เนื้อหาหลัก
- เอกสารที่ใช้ในการยื่นแบบ ภงด 94
- วิธีการกรอกแบบ ภงด 94 และการคำนวณ
- ระยะเวลาการนำส่งแบบ ภงด 94 และช่องทางในการยื่นแบบ
- สรุป
ภงด 94 คืออะไร?
ภงด 94 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) – 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่เป็นโสด มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
- ผู้ที่มีคู่สมรส มีเงินได้พึงประเมินไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่าย รวมกันเกิน 120,000 บาท
- กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมิน เกิน 60,000 บาท
- คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 60,000 บาท
- วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจ ชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้เกิน 1,800,000 บาท หรือมีเงินได้ เกิน 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาท ซึ่งได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีประกาศกำ หนด
ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่าง ภงด 94 จากสรรพากร :
ความสำคัญในการยื่นแบบ ภงด 94 และชำระภาษี
ผู้ที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) – 40(8) ตามรายละเอียดข้างต้นนี้มีหน้าที่ที่ต้องเสียภาษีครึ่งปีให้แก่รัฐตามกฎหมาย เนื่องจากการยื่น ภงด 94 เป็นภาษีรอบครึ่งปีไม่เหมือนกับรอบปีภาษีปกติ จะช่วยให้รัฐบาลมีกระแสเงินเข้ามาสม่ำเสมอตลอดทั้งปี และรัฐบาลมีหน้าที่นำเงินภาษีที่ได้รับมาบริหารประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ดี มีรัฐสวัสดิการที่มั่นคง
ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภงด 94
ผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภงด 94 คือผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) – 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
40(5) – เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
40(6) – เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
40(7) – เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ
40(8) – เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน 40(1) – 40(7)
ศึกษาเพิ่มเติม : เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภทมีอะไรบ้าง?
เอกสารที่ใช้ในการยื่นแบบ ภงด 94
หากผู้มีเงินได้ยื่นแบบ ภงด 94 ด้วยแบบกระดาษก็จะต้องกรอกแบบภาษีไปให้เรียบร้อย นอกจากนี้หลังจากได้ยื่นแบบภาษีไปแล้ว ผู้มีเงินได้ก็จะต้องเตรียมเอกสารที่เกี่ยวกับรายได้และค่าลดหย่อนเก็บเอาไว้เผื่อถูกเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเรียกตรวจ ยกตัวอย่างเช่น
- เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ที่นายจ้างส่งให้
- เอกในการลดหย่อนภาษี ยกตัวอย่างเช่น
-
- ใบเสร็จค่าเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ
- ทะเบียนสมรส ใบสูติบัตรของบุตร
- ใบเสร็จรับเงินซื้อกองทุนต่างๆที่นำมาลดหย่อนภาษี
- หนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืมธนาคาร
- หลักฐานในการบริจาค
วิธีการกรอกแบบ ภงด 94 และการคำนวณ
ภงด 94 หน้าที่ 1
- ให้กรอก ชื่อ-นามสกุลของผู้มีเงินได้ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ระบุปีภาษี และระบุว่าเป็นการยื่นปกติหรือการยื่นเพิ่มเติม
- ให้กรอก ชื่อ-นามสกุลของคู่สมรส เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ระบุข้อมูลการมีเงินได้และสถานะการยื่นแบบฯ ของคู่สมรส
- ให้ระบุสถานภาพของผู้มีเงินได้
- เซ็นรับรองในแบบ ภงด 94
- กรอกยอด ภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม และกรอกรายละเอียดในการคำนวณภาษีดังนี้
การคำนวณภาษี
- กรอกรายละเอียดเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (ข้อมูลรายละเอียดมาจากหน้าที่ 2 ก)
- กรอกค่าลดหย่อน (ข้อมูลรายละเอียดมาจากหน้าที่ 2 ข)
- กรอกยอดคงเหลือ (1) – (2)
- หัก เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/อื่นๆ ที่สามารถหักได้เพิ่มเติม (2 เท่าของจำนวนที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของข้อ 3
- กรอกยอดคงเหลือ (3) – (4)
- หัก เงินบริจาค (ไม่เกินร้อยละ 10 ของข้อ 5)
- กรอกยอด เงินได้สุทธิ (5) – (6)
- คำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิด้วยอัตราก้าวหน้า
- คำนวณเปรียบเทียบภาษีด้วยวิธีเงินได้พึงประเมิน (ร้อยละ 5)
- กรอกยอด ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ (เลือกจำนวนที่มากกว่าระหว่างข้อ 8 หรือ ข้อ 9)
- กรอกภาษีที่ต้องชำระจากใบแสดงเงินได้ฯ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ (ถ้ามี)
- กรอกยอดรวม ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระ
- กรอกยอดภาษี เงินได้จากการให้หรือการรับ จากหัวข้อ ก8 หน้าที่ 2 (ถ้ามี)
- กรอกยอดที่สามารถนำมาหักภาษีได้ เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ข้อ 15-19 ให้กรอกยอดภาษีที่ชำระเพิ่มเติม
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวณภาษี : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร
ภงด 94 หน้าที่ 2
ให้กรอกรายละเอียด 2 ส่วนหลักๆดังนี้
(ก) รายการเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)-(8)
ในส่วนนี้จะต้องกรอกจำนวนเงินของเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภท และการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภท
(ข) รายการลดหย่อนและยกเว้นหลังจากหักค่าใช้จ่าย
ในส่วนนี้ให้กรอกรายละเอียดของค่าลดหย่อนต่างๆที่มี
ระยะเวลาการนำส่งแบบ ภงด 94 และช่องทางในการยื่นแบบ
ผู้มีเงินได้ที่เข้าเกณฑ์จะต้องนำส่งแบบ ภงด 94 และจ่ายภาษี (ถ้ามี) ของรอบครึ่งปี ภายในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคมถึงวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี สำหรับช่องทางในการยื่นแบบมี 2 ทางหลักๆ ดังนี้
- ยื่นแบบ ภงด 94 เป็นกระดาษที่กรมสรรพากรพื้นที่ตามภูมิลำเนาของผู้มีเงินได้ ตามขั้นตอนและวิธีการที่ได้อธิบายไปในบทความนี้ หรือส่งเป็นไปรษณีย์ลงทะเบียน
- ยื่นแบบ ภงด 94 ผ่านระบบออนไลน์ของสรรพากร
สรุป
ผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) – 40(8) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภงด 94 ซึ่งแบบภาษีดังกล่าวมีขั้นตอนและวิธีการในการกรอกแบบตามหลักการในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้นเราจึงควรศึกษาวิธีในการคำนวณภาษีและวิธีในการกรอกแบบ ภงด 94 ให้ถูกต้อง จะได้เสียภาษีเงินได้ครึ่งปีได้อย่างถูกต้อง