บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายอย่างไรในการคำนวณภาษี

ปกบทความบุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายอย่างไรในการคำนวณภาษี

          ตามที่ได้กล่าวไปแล้วในบทความเรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร ว่าในการคำนวณภาษี บุคคลสามารถนำเงินได้พึงประเมินมาหักค่าใช้จ่ายออกได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายบางตัวสามารถเลือกหักตามจริง หรือหักแบบเหมาก็ได้ และการหักแบบเหมาของเงินได้แต่ละประเภทก็หักได้ไม่เท่ากัน ในบทความนี้เราจะมาดูการหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากัน

ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับประเภทเงินได้เพิ่มเติมที่ : ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี

40(1) – เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน

บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

40(2) – เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้

เงินได้พึงประเมิน 40(1) และ 40(2) มีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากเป็นการใช้แรงงานของตัวเองในการหารายได้ และแทบจะไม่มีต้นทุนดังนั้นการหักค่าใช้จ่ายจึงให้รวมเงินได้ทั้ง 2 ประเภทรวมกันเป็นก้อนเดียว

บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

40(3) – ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

หากเป็นค่าลิขสิทธิ์ กู๊ดวิลล์ ค่าสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท หรือ หักตามจริง

กรณีที่เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล จะไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้

40(4) – ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น เป็นต้น

ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้

40(5) – เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน

บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรือจะหักแบบเหมาก็ได้ตามรายละเอียดดังนี้

บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ – หักแบบเหมาร้อยละ 30

ที่ดินที่ใช้ในการเกษตรกรรม – หักแบบเหมาร้อยละ 20

ที่ดินที่มิได้ใช้ในการเกษตรกรรม – หักแบบเหมาร้อยละ 15

ยานพาหนะ – หักแบบเหมาร้อยละ 30

ทรัพย์สินอย่างอื่น – หักแบบเหมาร้อยละ 10

40(6) – เงินได้จากวิชาชีพอิสระ

บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรือจะหักแบบเหมาก็ได้ตามรายละเอียดดังนี้

การประกอบโรคศิลปะ – หักแบบเหมาร้อยละ 60

วิชาชีพอิสระอื่นนอกจากการประกอบโรคศิลปะ – หักแบบเหมาร้อยละ 30

40(7) – เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรือจะหักแบบเหมาก็ได้ ในอัตราร้อยละ 60

40(8) – เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน 40(1) – 40(7)

บุคคลธรรมดาหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง หรือจะหักแบบเหมาก็ได้ อย่างไรก็ตามหากเลือกที่จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจะต้องตรวจสอบกับประเภทเงินได้ที่เรามีก่อนว่ามีอยู่ใน List ที่สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้หรือไม่หากมีอยู่ใน List ส่วนใหญ่จะหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ในอัตราร้อยละ 60 ยกเว้นเงินได้ของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด เงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท หักแบบเหมาก็ได้ ในอัตราร้อยละ 60 สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท หักแบบเหมาก็ได้ ในอัตราร้อยละ 40 การหักค่าใช้จ่ายรวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท

ตารางสรุปการหักค่าใช้จ่ายบุคคลธรรมดาของเงินได้ตามมาตรา 40(8) เป็นดังนี้

ตารางอัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรรา 40(8)
ตารางอัตราการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรรา 40(8)

ตารางสรุปการหักค่าใช้จ่ายของบุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ทุกประเภท

การหักค่าใช้จ่ายของบุคคลธรรมดา
This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.