เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี?

ปกบทความเงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี
icon รับทำบัญชี
icon ดูรีวิวจากลูกค้า
icon กระดานสอบถามปัญหาภาษี
icon ติดต่อ Line

สารบัญ

  1. หลักการในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลเบื้องต้น
  2. ตัวอย่างการคำนวณ เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี
  3. ตารางสรุป เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี
  4. กราฟสรุป เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี

หลักการในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลเบื้องต้น

          ก่อนที่จะไปตอบคำถามที่ว่า เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี? เราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นคำนวณอย่างไร ก่อนอื่นผมแนะนำให้ไปอ่านบทความนี้ก่อนเพื่อให้ผู้อ่านบทความได้เข้าใจหลักการพื้นฐานกันก่อน : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคำนวณอย่างไร?

          หรือหากต้องการศึกษาความรู้จากสรรพากร ดูรายละเอียดได้ที่นี่ : วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปีจะต้องทำอย่างไร?

ในการคำนวณภาษีของบุคคล เราจะต้องหาเงินได้สุทธิออกมาก่อนจากสมการนี้

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมินค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน 

เมื่อหาเงินได้สุทธิแล้ว ก็นำมาคำนวณอัตราภาษีตามขั้นบันไดดังนี้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี 

ตารางอัตราเงินได้บุคคลธรรมดา by BMU

ตัวอย่างการคำนวณ เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี

          จากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 บาท จะต้องเริ่มเสียภาษีในอัตรา 5% ดังนั้นขอสมมติว่าหากเราเป็นผู้เสียภาษีที่ไม่ได้มีค่าลดหย่อนอะไรเพิ่มเติม เราจะสามารถหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนทั้งหมดได้ดังนี้

  1. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
  2. ค่าลดหย่อนส่วนตัวหักได้ 60,000 บาท ต่อปี

ดังนั้นหากจะตอบคำถามว่า มีเงินได้เท่าไหร่ จึงต้องเริ่มเสียภาษี เราก็ต้องหาเงินได้พึงประเมินก่อน จากตัวอย่างนี้

เงินได้พึงประเมิน = เงินได้สุทธิ + ค่าใช้จ่าย + ค่าลดหย่อน 

เงินได้ (เริ่มเสียภาษีถึงอัตรา 5%) = 150,001 + 100,000 + 60,000 = 310,001 บาท หรือ เท่ากับเงินเดือน 25,833.42 บาทต่อเดือน

เงินได้ (เริ่มเสียภาษีถึงอัตรา 10%) = 300,001 + 100,000 + 60,000 = 460,001 บาท หรือ เท่ากับเงินเดือน 38,333.42 บาทต่อเดือน

เงินได้ (เริ่มเสียภาษีถึงอัตรา 15%) = 500,001 + 100,000 + 60,000 = 660,001 บาท หรือ เท่ากับเงินเดือน 55,000.08 บาทต่อเดือน

เงินได้ (เริ่มเสียภาษีถึงอัตรา 20%) = 750,001 + 100,000 + 60,000 = 910,001 บาท หรือ เท่ากับเงินเดือน 75,833.42 บาทต่อเดือน

เงินได้ (เริ่มเสียภาษีถึงอัตรา 25%) = 1,000,001 + 100,000 + 60,000 = 1,160,001 บาท หรือ เท่ากับเงินเดือน 96,666.75 บาทต่อเดือน

เงินได้ (เริ่มเสียภาษีถึงอัตรา 30%) = 2,000,001 + 100,000 + 60,000 = 2,160,001 บาท หรือ เท่ากับเงินเดือน 180,000.08 บาทต่อเดือน

เงินได้ (เริ่มเสียภาษีถึงอัตรา 35%) = 5,000,001 + 100,000 + 60,000 = 5,160,001 บาท หรือ เท่ากับเงินเดือน 430,000.08 บาทต่อเดือน

ตารางสรุป เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี

          จากการคำนวณข้างต้นนี้ เราสามารถนำมาทำตารางสรุปช่วงเงินเดือนที่จะต้องเริ่มเสียภาษีในแต่ละอัตรา (สมมติหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนได้ตามพื้นฐานเบื้องต้นจากตัวอย่าง) ดังนี้

ตัวอย่าง เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี จัดทำโดย BMU

กราฟสรุป เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี

          เมื่อเราลองเอาตัวเลขเงินเดือน กับ ยอดภาษีตามอัตราก้าวหน้ามาพลอทเป็นกราฟ จะได้สรุปความสัมพันธ์ของเงินเดือนกับภาษีบุคคล ดังนี้

กราฟสรุป เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี By BMU

          จะเห็นได้ว่ายิ่งเงินเดือนสูงกราฟก็จะยิ่งชัน หมายถึงว่าจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นและจำนวนภาษีที่สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.