หนังสือรับรองบริษัท คืออะไร?

ปกบทความหนังสือรับรองบริษัท คืออะไร?

สารบัญ

  1. หนังสือรับรองบริษัท คืออะไร?
  2. ข้อมูลสำคัญในหนังสือรับรองบริษัทมีอะไรบ้าง?
  3. ความสำคัญของหนังสือรับรองบริษัท
  4. ขั้นตอนการขอคัดหนังสือรับรองบริษัท
  5. หนังสือรับรองบริษัทและ บอจ.5 แตกต่างกันอย่างไร?
  6. สรุป

หนังสือรับรองบริษัท คืออะไร?

          หนังสือรับรองบริษัท คือ เอกสารทางราชการที่ยืนยันสถานภาพของบริษัทหรือนิติบุคคลว่ามีอยู่จริงและถูกจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เอกสารดังกล่าวออกโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ตัวอย่างหนังสือรับรองบริษัท

หนังสือรับรองบริษัท หน้า 1 By BMU
หนังสือรับรองบริษัท หน้า 2 By BMU
หนังสือรับรองบริษัท หน้า 3 By BMU
หนังสือรับรองบริษัท หน้า 4 By BMU

ข้อมูลสำคัญในหนังสือรับรองบริษัทมีอะไรบ้าง?

ข้อมูลในหนังสือรับรองบริษัทจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 (หน้าที่ 1) ข้อมูลทั่วไปของบริษัท

ในส่วนที่ 1 จะมีข้อมูลสำคัญดังนี้

  1. ข้อความที่ระบุว่า “ขอรับรองว่าบริษัทนี้ ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”
  2. วันที่จดจัดตั้งบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
  3. เลขทะเบียนนิติบุคคล
  4. ชื่อบริษัท
  5. จำนวนกรรมการและรายชื่อกรรมการของบริษัท
  6. รายละเอียดเกี่ยวกับการลงชื่อผูกพันบริษัทของกรรมการ
  7. ทุนจดทะเบียนของบริษัท
  8. สถานที่ตั้งของบริษัท
  9. จำนวนข้อวัตถุประสงค์ของบริษัท ซึ่งจะแสดงรายละเอียดในส่วนที่ 3

ส่วนที่ 2 (หน้าที่ 2) ข้อควรทราบประกอบหนังสือรับรอง

ในส่วนนี้จะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทที่ทางรัฐต้องการให้ข้อมูลแก่ผู้มีส่วนได้เสียเพิ่มเติม โดยหลักๆจะเป็นเรื่องของการนำส่งงบการเงิน หากบริษัทดังกล่าวนำส่งงบการเงินถูกต้องตามกฎหมายข้อมูลก็จะขึ้นมาว่านิติบุคคลนี้ได้นำส่งงบการเงินแล้ว แต่หากนิติบุคคลใดไม่นำส่งงบการเงินข้อมูลก็จะขึ้นมาว่า นิติบุคคลนี้ไม่ได้นำส่งงบการเงิน ทำผู้มีส่วนได้เสียทราบถึงความน่าเชื่อถือของนิติบุคคลมากยิ่งขึ้น

ส่วนที่ 3 (หน้าที่ 3-4) วัตถุประสงค์ของบริษัท

เอกสารตัวนี้จะเรียกว่าแบบ ว.2 ซึ่งเป็นเอกสารที่ถูกแนบมาด้วย เมื่อเราทำการคัดหนังสือรับรอง เอกสารดังกล่าวจะแสดงวัตถุประสงค์ในการทำธุรกิจของบริษัทว่ามีอะไรบ้าง

ความสำคัญของหนังสือรับรองบริษัท

เนื่องจากหนังสือรับรองบริษัทเป็นเอกสารที่ช่วยยืนยันสถานะของนิติบุคคลว่าถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นในการทำธุรกรรมต่างๆของบริษัท จึงต้องใช้หนังสือรับรองทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น

  1. การขอเปิดบัญชีธนาคาร
  2. การทำสัญญาต่างๆ
  3. ทำการติดต่อซื้อขายกับคู่ค้า
  4. ขึ้นทะเบียนประกันสังคม
  5. จดจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้พนักงาน เป็นต้น

ขั้นตอนการขอคัดหนังสือรับรองบริษัท

ในปัจจุบันขั้นตอนการขอหนังสือรับรองบริษัทสามารถทำได้ผ่านระบบออนไลน์ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เข้าสู่ระบบ E-Service เพื่อคัดหนังสือรับรองออนไลน์ หากท่านใดที่ยังไม่มี User ก็ต้องกด ลงทะเบียนก่อน
  2. เมื่อลงทะเบียนเสร็จสิ้น และเข้าสู่ระบบแล้ว ให้เลือกหัวข้อ “หนังสือรับรอง” และกดปุ่ม ถัดไป
คัดหนังสือรับรองบรษัท ขั้นตอนที่ 1

3.หลังจากนั้นก็ให้ใส่เลขทะเบียนนิติบุคคลที่ต้องการ และกดถัดไป

คัดหนังสือรับรองบรษัท ขั้นตอนที่ 2

4.จากนั้นก็ให้อ่านสรุปเอกสารที่ต้องการอีกที แล้วกด ถัดไป

คัดหนังสือรับรองบรษัท ขั้นตอนที่ 3

5.ต่อมาให้ ระบุชื่อผู้ชำระเงินในใบเสร็จรับเงิน เมื่อเลือกได้แล้วให้กด ถัดไป

คัดหนังสือรับรองบรษัท ขั้นตอนที่ 4

6.จากนั้นให้กรอก ข้อมูลผู้ทำคำขอ แล้วกด ถัดไป

หนังสือรับรองบรษัท ขั้นตอนที่ 5

7.จากนั้นก็ให้เลือกช่องทางการจัดส่ง ในตัวอย่างนี้จะขอเลือกเป็นแบบ ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate file) แล้วกดปุ่มถัดไป

หนังสือรับรองบรษัท ขั้นตอนที่ 6

8.หลังจากนั้นให้ติ๊กตรงคำว่า ไม่สามารถยกเลิกและขอรับเงินคืนได้ และกดปุ่ม ยืนยัน

หนังสือรับรองบรษัท ขั้นตอนที่ 7

9.เมื่อกดยืนยันแล้วให้กด พิมพ์ใบนำชำระเงิน และทำการแสกนจ่ายชำระเงินผ่านระบบ Mobile banking

10.หลังจากนั้นให้รอ Email แจ้งกลับมาว่าได้รับหนังสือรับรองแล้ว ก็ให้กดปุ่ม ติดตามสถานะ (หัวมุมเมนูด้านขวา) จะสามารถดาวน์โหลดหนังสือรับรองบริษัทได้จากตรงนั้น

หนังสือรับรองบริษัทและ บอจ.5 แตกต่างกันอย่างไร?

          คำถามที่หลายๆคนมักสงสัยว่าหนังสือรับรองบริษัท และ บอจ.5 บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น นั้นแตกต่างกันอย่างไร ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่า หนังสือรับรองเป็นเอกสารที่ช่วยยืนยันสถานะของนิติบุคคลว่าถูกต้องตามกฎหมาย ส่วน บอจ.5 นั้นเป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นของบริษัทว่าเป็นใครบ้าง และการถือหุ้นของแต่ละคนเป็นจำนวนเท่าไหร่ ดังนั้นเอกสารทั้งสองจึงมีความแตกต่างกัน

สรุป

          หนังสือรับรองบริษัท เป็นเอกสารสำคัญที่ช่วยยืนยันสถานะของบริษัทว่าจดจัดตั้งถูกต้องตามกฎหมายของประเทศไทย และยังช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบว่านิติบุคคลดังกล่าวได้นำส่งงบการเงินอย่างถูกต้องหรือไม่ ทำให้ทราบว่านิติบุคคลดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้หนังสือรับรองยังเป็นเอกสารสำคัญเวลาที่บริษัทจะทำธุรกรรมต่างๆเกี่ยวกับบริษัทก็จะต้องใช้เอกสารดังกล่าว หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือรับรองมากยิ่งขึ้นนะครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.