บอจ.1 แบบคำขอจดทะเบียนบริษัทคืออะไร?

ปกบทความบอจ.1 แบบคำขอจดทะเบียนบริษัทคืออะไร

สารบัญ

  1. บอจ.1 แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท คืออะไร?
  2. ตัวอย่างแบบ บอจ.1 แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท
  3. ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม บอจ.1 แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท
  4. ตัวอย่างการกรอกแบบ บอจ.1
  5. ส่วนประกอบสำคัญในแบบ บอจ.1
  6. สรุป

บอจ.1 แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท คืออะไร?

บอจ.1 คือ แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการใช้ยื่นเพื่อจดทะเบียนบริษัท นอกจากนี้แบบฟอร์มดังกล่าวยังเอาไว้ใช้ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับบริษัทดังนี้

  1. หนังสือบริคณห์สนธิ
  2. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการจัดตั้งบริษัท
  3. จัดตั้งบริษัทจำกัด
  4. แปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด
  5. มติพิเศษให้ เพิ่มทุน ลดทุน ควบรวมบริษัท
  6. เพิ่มทุน ลดทุน
  7. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ (ชื่อบริษัท)
  8. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ (สำนักงานของบริษัท)
  9. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ (วัตถุประสงค์ของบริษัท)
  10. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ (ทุน / หุ้น / มูลค่าหุ้น)
  11. แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
  12. ควบรวมบริษัทจำกัด
  13. กรรมการเข้าออก
  14. แก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
  15. แก้ไขเพิ่มเติมที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และ/หรือ สำนักงานสาขา
  16. แก้ไขเพิ่มเติมตราของบริษัท
  17. รายการอย่างอื่นซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

ตัวอย่างแบบ บอจ.1 แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท

ตัวอย่างแบบ บอจ.1

แบบบอจ.1 By BMU
แบบหนังสือรับรอง By BMU

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม บอจ.1 แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม บอจ.1 ได้ที่นี่

ตัวอย่างการกรอกแบบ บอจ.1

ในกรณีจดจัดตั้งบริษัทใหม่ ผู้ประกอบการจะต้องกรอกเอกสาร บอจ.1 และแบบฟอร์มอื่นๆตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด เพื่อนำไปยื่นประกอบการจดทะเบียนบริษัท

หรือหากบริษัทจดบริษัทในรูปแบบออนไลน์ (E-Registration) สามารเข้าไปกรอกข้อมูลในระบบออนไลน์ได้เลยเพื่อสร้างแบบฟอร์มดังกล่าว

ลองดูตัวอย่างการกรอกเอกสารแบบกระดาษ บอจ.1 และเอกสารประกอบอื่นๆได้ที่นี่ 

ส่วนประกอบสำคัญในแบบ บอจ.1

ในแบบ บอจ.1 จะมีส่วนประกอบสำคัญดังนี้

  1. ชื่อบริษัท เลขทะเบียนบริษัท
  2. ติ๊กวัตถุประสงค์ในการยื่นแบบ บอจ.1
  3. ลงลายมือชื่อของผู้เริ่มก่อการ / กรรมการบริษัท พร้อมประทับตรา (ถ้ามี)
  4. ลงลายมือชื่อของนายทะเบียน
  5. ในกรณีที่ ผู้เริ่มก่อการ / กรรมการ ไม่สามารถลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนได้ ให้ลงลายมือชื่อในแบบ บอจ.1 ต่อหน้าบุคคลดังนี้
  • พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งประจำอยู่ในท้องที่ที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่
  • สามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา
  • บุคคลอื่นตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด ได้แก่ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ผู้ทำบัญชี เป็นต้น ตามประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางฯ

สรุป

แบบ บอจ.1 แบบคำขอจดทะเบียนบริษัท เป็นเอกสารสำคัญในการใช้ยื่นตอนจดทะเบียนบริษัท ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน นอกจากนี้เอกสารดังกล่าวยังเอาไว้ใช้ยื่นตอนบริษัทต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลทะเบียนบริษัทต่างๆ เช่น มติพิเศษให้ เพิ่มทุน ลดทุน ควบรวมบริษัท แก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัท / สำนักงานของบริษัท / วัตถุประสงค์ของบริษัท / ทุน / หุ้น / มูลค่าหุ้น เป็นต้น

This site uses cookies to offer you a better browsing experience. By browsing this website, you agree to our use of cookies.