สารบัญ
- บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ คืออะไร?
- ข้อมูลสำคัญใน บอจ.2 ที่ควรรู้
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ
- ตัวอย่างการกรอกแบบ บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ
- คำถามที่พบบ่อย : บอจ.2 สามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
- วิธีการขอเอกสาร บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ
- สรุป
บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ คืออะไร?
บอจ.2 คือ หนังสือบริคณห์สนธิ ซึ่งเป็นเอกสารที่ผู้เริ่มก่อการ (ผู้ที่มาร่วมกันจัดตั้งบริษัท) จัดทำขึ้นตามกฎหมายในการจัดตั้งบริษัท ซึ่งจะเน้นรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับข้อมูลทุน จำนวนหุ้นของบริษัท รวมถึงรายละเอียดที่แสดงว่าผู้เริ่มก่อการแต่ละคนได้เข้าชื่อซื้อหุ้นคนละกี่หุ้นในวันเริ่มจัดตั้งบริษัท
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการจดบริษัท : จดทะเบียนบริษัท
ตัวอย่างแบบ บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ
ข้อมูลสำคัญใน บอจ.2 ที่ควรรู้
รายละเอียดข้อมูลในแบบ บอจ.2 มีดังนี้
- ชื่อบริษัททั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- จังหวัดที่ตั้งของบริษัท
- จำนวนข้อของวัตถุประสงค์บริษัท
- ข้อความที่ระบุว่า “ผู้ถือหุ้นของบริษัทนี้ต่างรับผิดจํากัดเพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนยังใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ”
- รายละเอียดเกี่ยวกับทุนของบริษัท (จำนวนทุนจดทะเบียน / จำนวนหุ้น / มูลค่าต่อหุ้น)
- ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ ลายมือชื่อ และจํานวนหุ้นที่ผู้เริ่มก่อการแต่ละคนได้เข้าชื่อซื้อไว้ โดยแสดงรายละเอียดและลงลายมือชื่อแยกเป็นรายคน
- คำรับรองลายมือชื่อของพยานจำนวน 2 คน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ ได้ที่นี่
ตัวอย่างการกรอกแบบ บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ
ในกรณีจดจัดตั้งบริษัทใหม่ ผู้ประกอบการจะต้องกรอกเอกสาร บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ และแบบฟอร์มอื่นๆตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด เพื่อนำไปยื่นประกอบการจดทะเบียนบริษัท
หรือหากบริษัทจดบริษัทในรูปแบบออนไลน์ (E-Registration) สามารถเข้าไปกรอกข้อมูลในระบบออนไลน์ได้เลยเพื่อสร้างแบบฟอร์มดังกล่าว
ดูตัวอย่างการกรอกแบบกระดาษ บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ และเอกสารประกอบอื่นๆได้ที่นี่
คำถามที่พบบ่อย : บอจ.2 สามารถเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่
บอจ.2 นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ หากบริษัทต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น ชื่อบริษัท จังหวัดที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หรือ วัตถุที่ประสงค์ เป็นต้น โดยจะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้นก่อนประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน
- จัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยมีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 2 คน และมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
- มีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
- ยื่นคำขอจดทะเบียน
วิธีการขอเอกสาร บอจ.2 หนังสือบริคณห์สนธิ
วิธีการขอคัดเอกสาร บอจ.2 สามารถทำได้ง่ายมากผ่านระบบออนไลน์ ดังนี้
- เข้าสู่ระบบคัดเอกสารของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าที่ https://ebiz.dbd.go.th/eservice-web/login.xhtml
- หากท่านใดที่ยังไม่มี Username ให้ทำการลงทะเบียนก่อน
- เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วให้เลือกหัวข้อ “จดทะเบียน (จัดตั้ง)”
4. หลังจากนั้นก็ให้ดำเนินการตามขั้นตอนโดยการใส่เลขทะเบียนบริษัท และชำระเงินค่าคัดเอกสารต่อไป
สรุป
แบบ บอจ.2 หรือ หนังสือบริคณห์สนธิ เป็นเอกสารสำคัญในการจดจัดตั้งบริษัทซึ่งเป็นเอกสารที่ผู้เริ่มก่อการร่วมกันจัดทำขึ้นตามกฎหมาย โดยจะมีรายละเอียดที่สำคัญคือ ข้อมูลทุนของบริษัท จำนวนหุ้นของบริษัท และรายละเอียดที่แสดงว่าผู้เริ่มก่อการแต่ละคนได้เข้าชื่อซื้อหุ้นคนละกี่หุ้นในวันเริ่มจัดตั้งบริษัท